วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2561


ต้นกำเนิดเทดดี้แบร์ (Teddy Bear)
เรื่องเล่าของเยอรมัน
               ที่เยอรมัน ปี ค.ศ. 1902 Richard Steiff ซึ่งเป็นนักออกแบบของเล่นของโรงงานทำของเล่นของครอบครัวเขาเอง ได้เดินทางไปดูการแสดงละครสัตว์ที่อเมริกา เพื่อหาไอเดียในการออกแบบของเล่นชิ้นใหม่และเขาก็เกิดความคิดในการนำเอาหมีในคณะละครสัตว์มาเป็นแบบในการผลิตตุ๊กตาหมี ตุ๊กตาหมีที่เขาออกแบบจะมีข้อต่อตามจุดต่างๆ ได้แก่ คอ แขน และขา ทำให้เราสามารถเปลี่ยนอิริยาบทของมันได้เหมือนหมีจริง ซึ่งต่างจากตุ๊กตาหมีที่มีอยู่ในขณะนั้น
               I  LOVE TEDDY  BEAR Richard Steiff ได้นำตุ๊กตาหมีที่เขาออกแบบไปแสดงในงานแสดงสินค้าที่ Leipzig ในปี ค.ศ. 1903 แต่เขาก็ต้องผิดหวัง ที่ไม่มีผู้ใดให้ความสนใจตุ๊กตาหมีของเขาเลย จนกระทั่งในขณะที่เขากำลังเก็บของในวันสุดท้ายของงานแสดงสินค้า ผู้ชมงานชาวอเมริกันคนหนึ่งได้เข้ามาหยิบดูตุ๊กตาหมีของเขา และสั่งซื้อในปริมาณมาก และนี่คือต้นกำเนิดที่ทำให้ตุ๊กตาหมีที่เขาออกแบบแพร่หลาย
  


ต้นกำเนิดเทดดี้แบร์ (Teddy Bear)
เรื่องเล่าของอเมริกา
               ในปี ค.ศ. 1902 ที่อเมริกา ประธานาธิบดีชื่อTheodore 'Teddy' Roosevelt ได้เดินทางไปที่ Mississippi เพื่อเจรจายุติกรณีพิพาทเกี่ยวกับอาณาเขต ในวันหนึ่งท่านได้ออกไปล่าสัตว์ หลายชั่วโมงผ่านไป ท่านก็ยังล่าสัตว์ไม่ได้สักตัวเดียว ราชองครักษ์ของท่านที่ตามไปด้วยพบลูกหมีตัวหนึ่งพลัดหลงมา จึงจับลูกหมีตัวนั้นผูกกับต้นไม้ไว้ และตามประธานาธิบดีให้มาดูเพื่อมอบให้ แต่ประธานาธิบดีกลับปล่อยลูกหมีตัวนั้นให้เป็นอิสระไปข่าวของประธานาธิบดีปล่อยลูกหมีเป็นอิสระดังกระฉ่อนไปทั่ว แม้แต่ Clifford Berryman ซึ่งเป็นนักเขียนการ์ตูนของหนังสือพิมพ์การเมือง ก็ยังนำเรื่องดังกล่าวไปเขียนเป็นการ์ตูนลงในหนังสือพิมพ์การเมือง และการ์ตูนนี่เองไปจุดประกายความคิดของ Morris Michtom ให้ออกแบบ และผลิตตุ๊กตาหมีที่มีข้อต่อ Morris Michtom นำตุ๊กตาหมีที่เขาออกแบบมาวางจำหน่ายที่ร้านของเขาเอง โดยตั้งโชว์ที่หน้าร้าน พร้อมภาพการ์ตูนที่เขียนโดย Clifford Berryman และป้ายแสดงข้อความว่า "Teddy' s Bear" ผลปรากฎว่า ตุ๊กตาหมีของเขาขายดีเป็นเทน้ำเทท่า จากนั้นเพียงปีเดียว Morris Michtom ได้ปิดร้านของเขาและจัดตั้งบริษัท Ideal Novelty and Toy ขึ้น เพื่อรองรับธุรกิจนี้ ซึ่งเป็นบริษัทหนึ่งที่ติดอันดับ ยักษ์ใหญ่ทางด้านของเล่นของโลกในปัจจุบัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น