วันพฤหัสบดีที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2561


ตุ๊กตายุคเริ่มแรก


               เดิมที ตุ๊กตา ได้สร้างจาก อิฐ หิน ดิน ทราย ไม้ หรือเศษวัสดุอื่นๆที่หาได้ง่ายๆจากรอบๆตัว เพื่อที่จะใช้นำมาเป็นของเล่นให้เด็กๆซึ่งขนาดและองค์ประกอบต่างๆก็จะแตกต่างกันไปแล้วแต่วัสดุที่ทำ ณ ตอนนั้น


               ตุ๊กตาที่ประดิษฐ์จากไม้พายแล้วเขียน ของอียิปโบราณ ประมาณปี 2080-1990 ก่อนคริสตกาล นอกจากตุ๊กตาถูกทำมาเป็นของเล่นแล้ว บางพื้นที่ยังทำตุ๊กตาเพื่อมาเป็นพิธีกรรมทางศาสนาหรือความเชื่ออีกด้วย เพราะบางที่มีความเชื่อว่า เด็กหรือผู้ใหญ่ที่ไม่ปกติ (สุขภาพไม่ดี,ใช้การแก้ทำพิธีจากความเชื่อต่างๆของแต่ละพื้นที่) ก็จะนำตุ๊กตามาเป็นตัวแทน หรือมาใช้ในพิธีกรรมเพื่อให้หายจากสิ่งที่ไม่ดีนั้น


ตุ๊กตา ฮินาวา (Hinawa) จากญี่ปุ่น ปี ค.ศ. 300-600 ใช้เพื่อเป็นตัวแทนของครอบครัวเพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุข
               นอกจากนี้ยังมีตุ๊กตาที่ใช้ในการประกอปพิธีวูดู (แอฟริกา) พิธีกรรมของอินเดียนแดง ตุ๊กตาแอสกีโม และแบบอื่นๆอีกมากมาย แล้วแต่ความเชื่อและวัฒนธรรมของภูมิภาคนั้นๆ

วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2561


ตุ๊กตายุคอุตสาหกรรม


               หลังสงครามกลางเมืองที่ อเมริกา (ปี ค.ศ. 1860) ได้เริ่มมีการจัดตั้งโรงงานผลิตตุ๊กตาแล้วค่อยๆขยายตัวใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนประมาณ ศตวรรษ ที่ 19 ประเทศเยอรมัน ได้พลิกนวัตกรรม แนวคิดการผลิตตุ๊กตา โดยได้เริ่มแนวคิดผลิตตุ๊กตาแบบโมเดิ้ล ในตอนแรกก็ผลิตจากหนัง ผ้า กระดาษต่างๆ จนถึง ศตวรรษที่ twenty ก็เปลี่ยนมาเป็น พลาสติก เซลล์ลูรอย ไวนิล จนพัฒนากลายเป็น เรซินสังเคราะห์ ที่มีความคงทนเป็นอย่างสูง
               เมื่อความต้องการของลูกค้ามีไม่สิ้นสุด นักคิดนักประดิษฐ์จึงต้องสนองความต้องการของลูกค้าในกลุ่มต่างๆ ทำให้เกิดแฟชั่นของตุ๊กตาขึ้นมา ตอนแรกก็จะเป็นพวกตุ๊กตากระดาษ ที่สามารถปรับเปลี่ยนชุดต่างๆได้ และต่อมาก็เกิดแฟชั่นตุ๊กตาบาบี้ ที่สามารถเปลี่ยนชุด ตัว หัว แขน-ขา ต่างๆได้



วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2561


                ผ้าไมโครไฟเบอร์


               วิธีการหลอมแล้วรีดเส้นใยออกมาจากหัวฉีดที่เรียกว่าสปินเนอเร็ต (spineret) ลักษณะความละเอียดของผ้าขึ้นอยู่กับขนาดรูสปินเนอเร็ตที่ต้องการให้เส้นใยเล็กหรือละเอียดมากน้อยเพียงใดดังนั้นด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันผู้ผลิตสามารถผลิตเส้นใยของผ้าไมโครไฟเบอร์ได้เล็กและละเอียดกว่าเส้นใยที่ได้จากธรรมชาติถึง7-10 เท่า

ลักษณะเด่นของไมโครไฟเบอร์
-                     ไมโครไฟเบอร์เป็นเส้นใยที่เล็กละเอียดมากจึงเป็นผลให้เส้นใยไมโครไฟเบอร์สามารถซอกซอนเข้าถึงรอยแตก/แยกที่เล็กที่สุดบนพื้นผิวได้อย่างง่ายดาย
-                       เส้นใยไมโครไฟเบอร์มีโพลีเมอร์อีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่าไลโอฟิลิคซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดซับคราบมันทั้งหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-  ไมโครไฟเบอร์แต่ละเส้นมีลักษณะเป็นมุมและมีขอบลิ่มทำให้เกิดชั้นของไมโครไฟเบอร์ที่ลึกและซับซ้อนเพื่อประโยชน์ในการกักเก็บฝุ่นได้ในจำนวนมากจนถึงชั้นในสุดของเส้นใยและเป็นผลให้สามารถเก็บกวาดฝุ่นผงที่มีขนาดเล็กละเอียดมากๆได้อย่างดีเยี่ยมด้วย

วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2561


ประวัติตุ๊กตาเฟอร์บี้



เฟอร์บี เป็นของเล่นหุ่นยนต์อิเล็กทรอนิกส์ รูปร่างหน้าตาเหมือนแฮมสเตอร์หรือสิ่งมีชีวิตคล้ายนกฮูก ซึ่งผ่านช่วงการเป็นของเล่น "ที่ต้องมี" หลังการเปิดตัวในฤดูวันหยุดปี 2541 โดยมีการขายต่อเนื่องถึงปี 2543 เฟอร์บีขายได้กว่า 40 ล้านตัวระหว่างการผลิตครั้งแรกสามปี โดยขายได้ 1.8 ล้านตัวในปี 2541 และ 14 ล้านตัวในปี 2542 ความสามารถในการพูดของมันถูกแปลเป็น 24 ภาษา
เฟอร์บีเป็นความพยายามที่ประสบความสำเร็จครั้งแรกในการผลิตและขายหุ่นยนต์ที่มีเป้าหมายในบ้าน เฟอร์บีที่เพิ่งซื้อจะเริ่มพูดภาษาเฟอร์บี (Furbish) ทั้งหมด ซึ่งเป็นภาษาเฉพาะที่เฟอร์บีทุกตัวใช้ แต่ถูกตั้งโปรแกรมให้เริ่มใช้คำและวลีภาษาอังกฤษแทนภาษาเฟอร์บีเมื่อเวลาผ่านไป กระบวนการนี้ตั้งใจให้เหมือนกระบวนการเรียนภาษาอังกฤษ ในปี 2548 มีการเปิดตัวเฟอร์บีใหม่ โดยมีการจดจำเสียงและการเคลื่อนไหวใบหน้าที่ซับซ้อนขึ้น ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาหลายอย่าง อิโมโต-โทรนิกเฟอร์บี (Emoto-Tronic Furbies) ยังขายต่อมาถึงปลายปี 2550 เมื่อของเล่นเหล่านี้หายากอย่างยิ่ง เฟอร์บีรุ่นที่ปรับแล้วมีขายในเดือนกันยายน 2555 สำหรับฤดูวันหยุด


วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2561


ตุ๊กตาชาววัง


               ชื่อของตุ๊กตาชนิดนี้ บ่งว่าเป็นตุ๊กตาที่ทำกันในวัง เป็นตุ๊กตาที่ทำเล่นกันเฉพาะเจ้านายในพระบรมมหาราชวังสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประวัติและกระแสหนึ่งเล่าว่า เจ้าจอมมารดา ม.ร.ว.ย้อย ดิศรางกูร ได้ปั้นตุ๊กตาชาววังถวายพระราชธิดา คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรพินเพ็ญภาค เมื่อเจ้านายองค์น้อยทอดพระเนตรตุ๊กตาก็ทรงโปรด เจ้าจอมมารดาย้อยจึงปั้นขายที่ตำหนักของท่านเอง


               ศิลปินผู้ปั้นตุ๊กตาชาววังคนสุดท้ายคือ นางแฉ่ง สาครวาสี สกุลเดิม สุวรรณโน มีพี่สาวคนหนึ่งเป็นข้าหลวงของพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอรพินเพ็ญภาค นางแฉ่ง สาครวาสี บ้านเดิมอยู่ที่ตึกดิน ถนนดินสอ มารดามีอาชีพปั้นตุ๊กตาแก้บนส่งจำหน่าย โดยใช้ดินเหนียวในคลองตึกดินอันเป็นคลองแยกมาจากคลองหลอด
               พี่สาวนางแฉ่งหัดปั้นตุ๊กตาอยู่กับเจ้าจอมมารดาย้อยประมาณ ๑ ปี ก็ลาออกจากวังกลับมาอยู่บ้าน มาสอนน้องสาวอีก ๒ คน ให้ปั้นตุ๊กตาชาววัง การจำหน่ายตุ๊กตาชาววังที่งานภูเขาทอง ทำให้ผู้คนรู้จักตุ๊กตาชาววังอย่างกว้างขวาง จนปั้นจำหน่ายไม่ค่อยจะทัน
               ตุ๊กตาชาววังมี ๓ ขนาด คือ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ที่นิยมกันมากคือ ขนาดเล็กซึ่งสูงประมาณ ๒ เซนติเมตร ขนาดใหญ่จะสูงประมาณ ๔ เซนติเมตร ปั้นเป็นผู้ใหญ่ วัยรุ่น และเด็กกำลังนั่งและคลาน ท่านั่งเอน นอนคว่ำ ตะแคง คุกเข่า ประมาณอย่างละ ๘ ท่า ส่วนเด็กเล็กนั้น มีที่ไว้ผมแกละ ผมจุก และผมเปีย ส่วนผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงนั้นมีลักษณะพิเศษคือ แต่งกายอย่างชาวเหนือ ที่เป็นเช่นนี้ อาจจะเป็นเพราะว่าพระวรชายาเจ้าดารารัศมี ยังคงประทับอยู่ในพระบรมมหาราชวัง
               นอกจากตุ๊กตาเดี่ยวแล้ว ยังมีตุ๊กตาชุดตามเรื่องในวรรณคดี มีทั้งรามเกียรติ์ ละครนอกและละครใน การปั้นตุ๊กตาจะปั้นขาก่อน แล้วจึงขึ้นตัว ส่วนตัวนั้นมีพิมพ์กดเอาไว้ เสร็จแล้วนำดินไปผึ่งให้แห้ง ต้องระวังไม่ให้ถูกแดดจัด เพราะถ้าถูกแดดจัดดินจะร้าว เสร็จแล้วจึงนำไปเผาในเตาถ่านที่ใช้หุงต้มอาหารในครัว เชื้อเพลิงคือ แกลบ เผาแล้วสุมไว้ตลอดคืน เพื่อให้ตุ๊กตาเย็นสนิท ต่อไปจึงนำตุ๊กตานั้นมาลงสีผิว โดยใช้ฝุ่นผัดหน้าที่เรียกว่า ฝุ่นจีน มาละลายน้ำจนข้น แล้วจึงแต่งหน้า ทาปาก เขียนเสี้อผ้า ใช้สีตามความนิยมของชาววัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เสื้อผ้าของผู้ใหญ่ ผู้หญิงจะต้องนุ่งห่มสีตัดกันตามวัน
วันอาทิตย์ นุ่งแดงห่มเขียวหรือจะกลับกันก็ได้ วันจันทร์ นุ่งม่วงหรือน้ำเงินห่มเหลือง วันอังคาร นุ่งชมพูห่มน้ำเงินหรือกลับกัน วันพุธ นุ่งน้ำเงินห่มสไบเขียว วันพฤหัสบดี นุ่งน้ำเงินห่มแสดหรือกลับกัน
วันศุกร์ นุ่งน้ำเงินห่มชมพูหรือบานเย็นคล้ายวันอังคาร วันเสาร์ ห่มสีม่วงนุ่งสีเหล็กหรือเทาแก่
               ตุ๊กตาชาววังของนางแฉ่ง สาครวาสี รูปร่างสะโอดสะอง คอระหง ทรงผมตัดหรือเกล้ามวย ท่าทางฝ่ายหญิงอ่อนช้อย ฝ่ายชายสง่าและขึงขัง ส่วนเด็กนั้นรื่นเริงน่าเอ็นดูเหมือนธรรมชาติมาก ท่าทางต่างๆ กันตามเพศและอายุ มักเป็นอิริยาบถประจำวันของคนนั่งพื้น ไม่ใช้เก้าอี้ ผิวเนียนเพราะใช้ฝุ่นดี มีนิ้วมือนิ้วเท้าทุกตัว หลังจากพี่สาวและน้องสาวถึงแก่กรรม นางแฉ่งจึงเป็นผู้ปั้นตุ๊กตาชาววังแต่เพียงผู้เดียวและเป็นคนสุดท้าย นางแฉ่งถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ รวมอายุได้ ๘๗ ปี ท่านเลิกทำตุ๊กตาชาววังหลายปีก่อนถึงแก่กรรม แต่ได้มอบวิชาการปั้นตุ๊กตาชาววังให้แก่อาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากร ๒ ท่าน เพื่อนำไปเผยแพร่ที่โครงการศิลปาชีพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ณ ตำบลบางเสด็จ หมู่บ้านวัดท่าสุทธาวาส อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง
               การทำตุ๊กตาชาววังของชาวบ้านวัดท่าสุทธาวาสนี้ ยังผลให้ชาวบ้านมีฐานะดีขึ้นโดยทั่วกัน แต่การประดิษฐ์ตุ๊กตาเป็นจำนวนมากเพื่อให้ทันกับความต้องการของตลาด ทำให้มีความประณีตไม่เท่าผลงานของนางแฉ่ง สาครวาสี

วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2561


ประวัติตุ๊กตาบลายธ์

ตุ๊กตาบลายธ์ เป็นตุ๊กตาที่ผลิตในฮ่องกงและวางจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา โดยบริษัท เค็นเนอร์ (Kenner) เมื่อ พ.ศ. 2515 ออกแบบโดยนักออกแบบของบริษัท มาร์วิน กลาส สตูดิโอ ประกอบด้วย แอลลิสัน แคตสแมน และรูเบ็น เทอร์เซียน ตุ๊กตารุ่นนี้ไม่ได้รับความนิยม จึงมีวางจำหน่ายเพียงปีเดียวในสหรัฐอเมริกา จากนั้นก็ไม่ได้มีการจำหน่ายอีก


ตุ๊กตาบลายธ์มีลักษณะเด่นคือ มีตากลมโตที่เปลี่ยนสีได้ โดยดึงเชือกที่อยู่ด้านหลังศีรษะตุ๊กตา มีสัดส่วนศีรษะโต ลำตัวและขาสั้น ดูเหมือนการ์ตูน ปัจจุบันบริษัท เค็นเนอร์ ได้เลิกกิจการแล้ว และลิขสิทธิ์ของตุ๊กตาบลายธ์ถือครองโดย บริษัท แฮสโบร
ในปี พ.ศ. 2540 โปรดิวเซอร์รายการโทรทัศน์แห่งหนึ่งในนิวยอร์ก ชื่อ จินา แกแรน (Gina Garan) ได้รับตุ๊กตาบลายธ์เป็นของขวัญจากเพื่อน และได้ใช้ตุ๊กตานี้เป็นแบบฝึกฝนการถ่ายภาพ เธอได้ตีพิมพ์หนังสือภาพถ่าย ชื่อ "This is Blyth" ซึ่งมีแต่ภาพของตุ๊กตาบลายธ์ทั้งเล่มในปี พ.ศ. 2545 และเริ่มเกิดกระแสความนิยม ตุ๊กตาบลายธ์ถูกนำไปใช้ในภาพยนตร์โฆษณาของห้างสรรพสินค้าพาร์โคในประเทศญี่ปุ่น และทำให้เกิดกระแสความนิยมเป็นอย่างสูงในประเทศญี่ปุ่น รายการโทรทัศน์ I Love the '70s ของ VH1 ได้จัดให้มีช่วงของตุ๊กตาบลายธ์เป็นพิเศษ และทำให้เกิดความนิยมเป็นวงกว้าง
ปัจจุบัน นักสะสมตุ๊กตาพากันสะสมตุ๊กตาบลายธ์รุ่นแรก จนทำให้ราคาจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากตัวละ 35 ดอลลาร์สหรัฐในปี พ.ศ. 2515 เป็นไม่ต่ำกว่า 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ บริษัทแฮสโบรได้ผลิตตุ๊กตาบลายธ์ขึ้นมาใหม่ในปี พ.ศ. 2543 เรียกว่า "นีโอ บลายธ์" ราคาจำหน่ายระหว่าง 60 ดอลลาร์สหรัฐ ถึง 300 ดอลลาร์สหรัฐ
ในสหรัฐอเมริกา โชคร้ายสำหรับเค็นเนอร์ ที่ตุ๊กตาขายไม่ดี เลยผลิตจำหน่ายแค่เพียงปีเดียวก็ยุติการผลิต แต่เป็นโชคดีของผู้มีตุ๊กตาบลายธ์ที่ผลิตในปีนั้นไว้ในครอบครอง เพราะปัจจุบัน นักสะสมตุ๊กตาระดับมืออาชีพ ต่างควานหาตุ๊กตารุ่นนี้กันให้ควั่ก แถมให้ราคาดี ซึ่งจะดีมากหรือ ดีมากๆขึ้นอยู่กับสภาพของตุ๊กตา กล่าวกันว่าราคาซื้อขายทั่วไปจะอยู่ที่ตัวละ 1,000 กว่าดอลลาร์ขึ้นไป ส่วนตุ๊กตาบลายธ์ที่ผลิตใหม่ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา ที่เรียกว่า นีโอ บลายธ์ (Neo Blythe) เวลาจะขายทอดตลาดก็มักได้ราคาไม่ต่ำไปกว่าราคาที่ซื้อมา เรียกว่ามีไว้ไม่ขาดทุน ยิ่งถ้าเป็นรุ่นที่ผลิตออกมาในจำนวนจำกัด (limited edition) ก็ยิ่งได้ราคาดี
ตุ๊กตา บลายธ์เป็นสินค้าที่น่าสนใจมากทีเดียว บลายธ์เหมือนกับ ตุ๊กตาบาร์บี้ที่มีคุณค่า และมูลค่าอยู่ในชื่อของเธอเอง ถือเป็นแบรนด์ที่ขายชื่อได้และทำเงินดีด้วย ตุ๊กตาบลายธ์ รุ่น วินเทจซึ่งหมายถึงรุ่นที่ผลิตจำหน่ายในปี 1972 สามารถเรียกราคาประมูลบนเว็บไซต์อีเบย์ได้ตัวละกว่า 2,000 ดอลลาร์ หรือประมาณ 76,000 บาท (จากราคาจำหน่ายแค่ตัวละ 35 ดอลลาร์ หรือ 1,300 กว่าบาท) สินค้าเกี่ยวกับบลายธ ์มีนอกเหนือจากตุ๊กตาเป็นตัวๆที่เอาไว้ให้เล่น หรือเอาไว้ให้ชื่นใจ ส่วนใหญ่เป็นของใช้สำหรับผู้หญิง เช่น เข็มกลัด กระเป๋าสตางค์ กระเป๋าสะพาย ซองโทรศัพท์มือถือ แผ่นดีวีดี หรือแม้แต่หนังสือรวมภาพตุ๊กตาบลายธ์ในอิริยาบถต่างๆ ตุ๊กตายี่ห้อนี้มีแฟชั่นโชว์ และนิทรรศการจัดแสดงในหลายประเทศ
ดีไซเนอร์ที่ร่วมทีมออกแบบ ตุ๊กตาบลายธ์เมื่อปี 2515 มี 3 คนสังกัดบริษัท มาร์วิน กลาส สตูดิโอ ซึ่งโด่งดังมากในเรื่องการออกแบบของเด็กเล่น รูเบ็น เทอร์เซียน เป็นผู้ออกแบบลูกตา ซึ่งตอนแรกเขาตั้งใจจะใช้กับตุ๊กตาสุนัข ส่วนลำตัวของตุ๊กตา แรกๆทีมงานก็ออกแบบให้ยาวได้สัดส่วนกับหัวที่มีขนาดใหญ่ของตุ๊กตา แต่ปรากฏว่ากล่องใส่มีขนาดสั้น จึงต้องลดสัดส่วนความยาวลำตัวให้บรรจุได้พอดี ตุ๊กตาบลายธ์จึงหัวโตตัวสั้น ดูเหมือนการ์ตูน

วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2561


ต้นกำเนิดเทดดี้แบร์ (Teddy Bear)
เรื่องเล่าของเยอรมัน
               ที่เยอรมัน ปี ค.ศ. 1902 Richard Steiff ซึ่งเป็นนักออกแบบของเล่นของโรงงานทำของเล่นของครอบครัวเขาเอง ได้เดินทางไปดูการแสดงละครสัตว์ที่อเมริกา เพื่อหาไอเดียในการออกแบบของเล่นชิ้นใหม่และเขาก็เกิดความคิดในการนำเอาหมีในคณะละครสัตว์มาเป็นแบบในการผลิตตุ๊กตาหมี ตุ๊กตาหมีที่เขาออกแบบจะมีข้อต่อตามจุดต่างๆ ได้แก่ คอ แขน และขา ทำให้เราสามารถเปลี่ยนอิริยาบทของมันได้เหมือนหมีจริง ซึ่งต่างจากตุ๊กตาหมีที่มีอยู่ในขณะนั้น
               I  LOVE TEDDY  BEAR Richard Steiff ได้นำตุ๊กตาหมีที่เขาออกแบบไปแสดงในงานแสดงสินค้าที่ Leipzig ในปี ค.ศ. 1903 แต่เขาก็ต้องผิดหวัง ที่ไม่มีผู้ใดให้ความสนใจตุ๊กตาหมีของเขาเลย จนกระทั่งในขณะที่เขากำลังเก็บของในวันสุดท้ายของงานแสดงสินค้า ผู้ชมงานชาวอเมริกันคนหนึ่งได้เข้ามาหยิบดูตุ๊กตาหมีของเขา และสั่งซื้อในปริมาณมาก และนี่คือต้นกำเนิดที่ทำให้ตุ๊กตาหมีที่เขาออกแบบแพร่หลาย
  


ต้นกำเนิดเทดดี้แบร์ (Teddy Bear)
เรื่องเล่าของอเมริกา
               ในปี ค.ศ. 1902 ที่อเมริกา ประธานาธิบดีชื่อTheodore 'Teddy' Roosevelt ได้เดินทางไปที่ Mississippi เพื่อเจรจายุติกรณีพิพาทเกี่ยวกับอาณาเขต ในวันหนึ่งท่านได้ออกไปล่าสัตว์ หลายชั่วโมงผ่านไป ท่านก็ยังล่าสัตว์ไม่ได้สักตัวเดียว ราชองครักษ์ของท่านที่ตามไปด้วยพบลูกหมีตัวหนึ่งพลัดหลงมา จึงจับลูกหมีตัวนั้นผูกกับต้นไม้ไว้ และตามประธานาธิบดีให้มาดูเพื่อมอบให้ แต่ประธานาธิบดีกลับปล่อยลูกหมีตัวนั้นให้เป็นอิสระไปข่าวของประธานาธิบดีปล่อยลูกหมีเป็นอิสระดังกระฉ่อนไปทั่ว แม้แต่ Clifford Berryman ซึ่งเป็นนักเขียนการ์ตูนของหนังสือพิมพ์การเมือง ก็ยังนำเรื่องดังกล่าวไปเขียนเป็นการ์ตูนลงในหนังสือพิมพ์การเมือง และการ์ตูนนี่เองไปจุดประกายความคิดของ Morris Michtom ให้ออกแบบ และผลิตตุ๊กตาหมีที่มีข้อต่อ Morris Michtom นำตุ๊กตาหมีที่เขาออกแบบมาวางจำหน่ายที่ร้านของเขาเอง โดยตั้งโชว์ที่หน้าร้าน พร้อมภาพการ์ตูนที่เขียนโดย Clifford Berryman และป้ายแสดงข้อความว่า "Teddy' s Bear" ผลปรากฎว่า ตุ๊กตาหมีของเขาขายดีเป็นเทน้ำเทท่า จากนั้นเพียงปีเดียว Morris Michtom ได้ปิดร้านของเขาและจัดตั้งบริษัท Ideal Novelty and Toy ขึ้น เพื่อรองรับธุรกิจนี้ ซึ่งเป็นบริษัทหนึ่งที่ติดอันดับ ยักษ์ใหญ่ทางด้านของเล่นของโลกในปัจจุบัน